วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 5 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์

บทที่ 5 
การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์


             การสืบพันธุ์ (Reproduction) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน โดยที่สิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นจะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป ทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ได้โดยไม่สูญพันธุ์ 
การสืบพันธุ์มี 2 วิธี คือการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
             1.การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ (sex cell) เป็นการสืบพันธุ์ที่สร้างหน่วยใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดิม อาจเกิดได้โดยการจำลองตัวเองของหน่วยพันธุกรรม การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโตซีส หรือการแบ่งเซลล์แบบ mitotic cell division หน่วยใหม่ที่เกิดขึ้นมาจะมีลักษณะเหมือนตัวแม่ทุกประการ การสืบพันธุ์แบบนี้พบตั้งแต่สิ่งที่มีชีวิตที่ยังไม่เป็นเซลล์ พวกเซลล์เดียว และพวกหลายเซลล์ไปจนถึงพืชชั้นสูง... อ่านต่อ

บทที่ 4 ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์

บทที่ 4 

ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์



            อาหารที่คนรับประทานมีทั้งข้าว เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ ซึ่งประกอบด้วยสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ เซลล์ต่างๆ ของร่างกายต้องการสารอาหารและพลังงานจากสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ของเซลล์เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่สารอาหารที่จะเข้าสู่เซลล์ได้ต้องมีโมเลกุลขนาดเล็ก ร่างกายมีกระบวนการอย่างไร จึงจะทำให้โมเลกุลของสารอาหารขนาดใหญ่มีขนาดเล็กลง และกระบวนการนี้เกิดขึ้นที่ส่วนใดของร่างกาย เมื่อโมเลกุลของสารอาหารมีขนาดเล็กลงแล้วจะเข้าสู่เซลล์ได้อย่างไร และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มีกระบวนการเช่นเดียวกันหรือไม่ นักเรียนจะสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้โดยศึกษาในหัวข้อต่อไปนี้... อ่านต่อ

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต

บทที่ 3 
เซลล์ของสิ่งมีชีวิต


เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
            สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว 2 ชนิดที่มีขนาดแตกต่างกัน   ซึ่งสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างอิสระ  จึงน่าจะมีโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ เพื่อทำให้เซลล์ดำเนินชีวิตอยู่ได้   และมีการสืบพันธุ์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์   เซลล์มีการสืบพันธุ์อย่างไรและในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ซึ่งมีเซลล์เป้นหน่วยพื้นฐานที่มีชีวิตเล็กที่สุด   เซลล์เหล่านี้ทำงานประสานสัมพันธ์กันเพื่อให้กลุ่มเซลล์ทำหน้าที่ร่วมกันอย่างไร   คำถามทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะได้ศึกษาเพื่อค้นหาคำตอบต่อไปในบทเรียนนี้... อ่านต่อ

บทที่ 2 เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

บทที่ 2 
เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต


             สิ่งมีชีวิตในโลกมีรูปร่างและโครงสร้างแตกต่างกันมากมาย เช่น พืช สัตว์ ทำให้เราสามารถแยกสิ่งมีชีวิตเป็นชนิดต่างๆ ได้ แต่ว่าถึงแม้จะแตกต่างกัน   สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็ล้วนประกอบขึ้นด้วยหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุด เรียกว่า เซลล์ ภายในเซลล์ทุกชนิดมีโครงสร้าง   ที่ประกอบด้วยโมเลกุลของสารเคมีหลายชนิด โมเลกุลของสารเหล่านี้เกิดจากโครงสร้างพื้นฐานที่เล็กที่สุดคืออะตอม ธาตุที่พบมากได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ซึ่งมีการรวมกันเป็นโมเลกุล   บางโมเลกุลมีขนาดใหญ่มาก   เช่น โปรตีน ลิพิด คาร์โบไฮเดรตและกรดนิวคลิอิก เป็นต้น ประกอบกันนเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ต่างกัน สารต่างๆ ในร่างกายของเรามีโครงสร้างที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร  โครงสร้างของสารเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของเซลล์หรือไม่ อย่างไร และสารเหล่านี้มีการสลายตัวและมีการรวมตัวกันเป็นสารชนิดใหม่ได้อย่างไร   คำถามที่กล่าวมานี้นักเรียนจะศึกษาเพื่อค้นหาคำตอบจากบทเรียนนี้... อ่านต่อ

บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต

บทที่ 1 
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต


             นักเรียนคิดว่าภาพที่เห็นนี้เป็นภาพของสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต   นักเรียนมีหลักในการจำแนกสิ่งมีชีวิตออกจากสิ่งไม่มีชีวิตอย่างไร   การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตคือ วิชาวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่เรียกว่าชีววิทยา(biology)
             นักเรียนเคยสงสัยไม่ว่าสิ่งมีชีวิตมีลักษณะเป็นอย่างไร   และพลังงานสำหรับการดำรงชีวิตได้มาจากไหน   สิ่งมีชีวิตมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ทำไมเราจึงต้องศึกษาวิชาชีววิทยา   ซึ่งคำถามเหล่านี้นักเรียนจะได้ศึกษาและค้นคว้าหาคำตอบต่อไป... อ่านต่อ